วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โครงงานทางประวัติศาสตร์

โครงงานทางประวัติศาสตร์
เรื่อง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสงขลา


คณะผู้จัดทำโครงการ

1.นางสาวพัชรินทร์ เพชรรัตน์ เลขที่ 1
2.นางสาวยลมน ทองเรือง เลขที่ 22
3.นางสาวนิธินันท์ คันธวงศ์ เลขที่ 27
4.นางสาวกรกนก สะแลแม เลขที่ 29
5.นางสาวรติมา เกษราพงศ์ เลขที่ 31
ชันมัธยมศึกษาปีที่ 5 / 8

เสนอ

อาจารย์การุณย์ สุวรรณรักษา

=======================================================

ที่มาและเหตุผล

เนื่องจากปัจจุบันนี้โลกได้ปิดกว้างรับเอาสิ่งใหม่ๆ จากหลายที่มา ไม่ว่าจะเป็นในหรือนอกประเทศ ถ้าอยากจะหาดูของโบราณ ทุกคนก็ต้องนึกถึงสิ่งเดียวกันนั้นคือ พิพิธภัณฑ์ และในจังหวัดสงขลาของเราก็มี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสงขลา ด้วยเหตุนี้สมาชิกในกลุ่มของเราเลยตัดสินใจที่จะยกเอาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสงขลา มาศึกษาหาข้อมู เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาให้กับบุคคลอื่นต่อไป


จุดมุ่งหมายของการศึกษา

1.เพื่อได้ศึกษาประวัติศาสตร์โดยใช้ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นแนวทางใน การศึกษา
2.เพื่อทราบประวัติความเป็นมาและจุดมุ่งหมายของการสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสงขลา
3. เพื่อทราบประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสงขลา
4. เพื่อนำเสนอข้อมูลให้กับผู้ที่สนใจและต้องการจะนำไปศึกษาต่อ


วิธีการดำเนินงาน

ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย: กำหนดหัวข้อเรื่องซึ่งศึกษาเกี่ยวกับ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสงขลา” บริเวณหน้ากำแพงเมืองเก่าและแบ่งหน้าที่ให้กับสมาชิกในกลุ่ม
ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล: รวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจพื้นที่ , ถ่ายรูป, จดบันทึกข้อมูลที่ได้ศึกษาจากพื้นที่จริงบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสงขลา และหาข้อมูลเพิ่มเติมในอินเทอร์เน็ตเพิ่มเติม
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน: ตรวจสอบข้อมูลที่หาได้จากอินเทอร์เน็ตและข้อมูลที่ได้จากการจดบันทึกว่าถูกต้องหรือไม่
ขั้นตอนที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลและตีความข้อมูล: เมื่อ หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสงขลา แล้วจึงนำมาวิเคราะห์โดยสมาชิกในกลุ่มอีกทีหนึ่ง เพื่อจะนำเสนอส่วนใดบ้างและเพิ่มเติมเนื้อหาส่วนที่ขาดไปให้ถูกต้องครบถ้วน
ขั้นตอนที่ 5 นำเสนอผลงาน

วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้

1.) สมุดจดบันทึก เพื่อบันทึกข้อมูลที่จำเป็นต่อการนำมาวิเคราะห์
2.) กล้องถ่ายรูป
3.) ปากกา ดินสอ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพื่อนำขั้นตอนทางประวัติศาสตร์มาปรับใช้กับ การศึกษาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสงขลา
2.ทราบประวัติความเป็นมาและความสำคัญของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสงขลา
3.ทราบประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์
4.ผู้ที่นำไปศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้นั้นไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาได้จริง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสงขลา






ประวัติความเป็นมา

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองเก่าสงขลา ทิศเหนือจดถนนรองเมือง ทิศใต้จดถนนจะนะ ทิศตะวันออกจดถนนไทรบุรี ทิศตะวันตกจดถนนวิเชียรชม ห่างจากทะเลสาบสงขลา ประมาณ 200 เมตร พื้นที่ 11 ไร่ 21.7 ตารางวา อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา เดิมเป็นบ้านของพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2421 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ การสร้างบ้านสันนิษฐานว่าใช้เวลาหลายปี จากหลักฐานที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภานุพันธุ์วงศ์วรเดช ได้บันทึกไว้ในเรื่อง ชีวิวัฒน์เกี่ยวกับการเดินทางท่องเที่ยวที่ต่าง ๆ เมื่อ พ.ศ. 2427 ความว่า “ที่มุมเมืองนอกกำแพงด้านเหนือตะวันตก มีตึกหมู่หนึ่งหันหน้าลงน้ำ ไกลน้ำประมาณ 4 – 5 เส้น เป็นตึก 2 ชั้น วิธีช่างทำ ทำนองตึกฝรั่งยังทำไม่แล้วเสร็จ ข้างในเป็นตึก 2 ชั้น 3 หลัง วิธีช่างทำ ทำนองจีนแกมฝรั่ง ทำเสร็จแล้ว มีกำแพงบ้านก่ออิฐเป็นบริเวณ บ้านตึกหมู่นี้เป็นบ้านหลวงอนันตสมบัติ บุตรพระยาสุนทรา บิดาได้ทำไว้ยังค้างอยู่” ได้ใช้เป็นบ้านพักส่วนตัวของตระกูล ณ สงขลา และในปี พุทธศักราช 2447 (ร.ศ.123) ทางรัฐบาลได้ซื้ออาคารดังกล่าวจาก พระอนันตสมบัติ ( เอม ณ สงขลา) บุตรพระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) ในราคา 28,000 บาท เพื่อใช้เป็นศาลามณฑลนครศรีธรรมราช จากการปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล ในปี พ.ศ.2439 ได้ตั้งเป็นมณฑลนครศรีธรรมราช ศูนย์บัญชาการอยู่ที่สงขลา พระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นผู้บัญชาการมณฑล เจ้าเมืองสงขลาถูกเปลี่ยนตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมือง ขึ้นตรงต่อผู้บัญชาการมณฑล และได้ใช้อาคารนี้เป็นที่ว่าการมณฑลนครศรีธรรมราช จนถึงพุทธศักราช 2460 ได้มีการเปลี่ยนระบบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ ให้ใช้คำว่า จังหวัด แทนชื่อเมือง เมืองสงขลาจึงเป็นจังหวัดสงขลา ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองเปลี่ยนเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด แต่ยังขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราช ต่อมาปี พ.ศ. 2476 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบประชาธิปไตย จังหวัดสงขลาจึงมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งในราชอาณาจักรไทย ยังคงใช้อาคารนี้เป็นที่ทำการศาลากลางจังหวัดสงขลา ถึง พ.ศ. 2496 จึงย้ายที่ทำการศาลากลางจังหวัดสงขลาไปอยู่ ณ ถนนราชดำเนินปัจจุบัน ตัวอาคารหลังนี้จึงถูกทิ้งร้างอยู่หลายปี วันที่ 6 มิถุนายน 2516 กรมศิลปากร จึงประกาศขึ้นทะเบียนอาคารแห่งนี้เป็นโบราณสถานและได้ปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามกุฏราชกุมาร เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา วันที่ 25 กันยายน 2525







ลักษณะสถาปัตยกรรมของอาคาร

อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมยุโรป สร้างเป็นตึกก่ออิฐสอปูน 2 ชั้น บ้านหันหน้าไปทางทิศตะวันตก หันหน้าสู่ทะเลสาบสงขลา ลักษณะตัวบ้านยกสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร ปลูกเป็นเรือนหมู่ 4 หลัง เชื่อมติดกันด้วยระเบียงทางเดิน มีบันไดขึ้น2 ทาง คือด้านหน้าและตรงกลางลานด้านใน กลางบ้านเป็นลานเปิดโล่งสำหรับปลูกต้นไม้หรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ด้านหน้าอาคารมีสนามและมีอาคารโถงขนาบสองข้าง ด้านหลังมีสนามเช่นเดียวกัน พื้นที่โดยรอบอาคารเป็นสนามหญ้าและสวนมีกำแพงโค้งแบบจีนล้อมรอบ อาคารชั้นบน ห้องยาวด้านหลัง มีบานประตูลักษณะเป็นบานเฟี้ยม แกะสลักโปร่งเป็นลวดลายเล่าเรื่องในวรรณคดีจีน สลับลายพันธุ์พฤกษา หรือลายมังกรดั้นเมฆ เชิงไข่มุกไฟ ส่วนหัวเสาชั้นบนของอาคารมีภาพเขียนสีเป็นภาพเทพเจ้าจีน หรือลายพฤกษา ภายในห้องตรงขื่อหลังคา จะมีเครื่องหมายหยินหยาง โป้ยป้อ หรือ ปากั้ว เพื่อป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ตามคตินิยมของชาวจีน หลังคามุงกระเบื้องสองชั้นฉาบปูนเป็นลอน สันหลังคาโค้ง ปลายทั้งสองด้านเชิดสูงคล้ายปั้นลมของเรือนไทย ภายนอกอาคาร บริเวณผนังใต้จั่วหลังคา มีภาพประติมากรรมนูนต่ำสลับลายภาพเขียนสี เป็นรูปเทพเจ้าจีนและลายพันธุ์พฤกษา

============================================================


ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์


พิพิธภัณฑ์ ความหมายของพิพิธภัณฑ์ " ตามที่สภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ หรือ ICOM (International Council of Museums) ได้ให้คำจำกัดความไว้แล้วว่า " พิพิธภัณฑ์ " คือ หน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร เป็นสถาบันที่ถาวรในการรวบรวม สงวนรักษา ศึกษาวิจัย สื่อสาร และจัดแสดงนิทรรศการ ให้บริการแก่สังคมเพื่อการพัฒนา โดยมีความมุ่งหมายเพื่อการค้นคว้าการศึกษา และความเพลิดเพลิน โดยแสดงหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับมนุษย์และสภาพแวดล้อม สิ่งซึ่งสงวนรักษาและจัดแสดงนั้นไม่ใช่เป็นเพียงวัตถุ แต่ได้รวมถึงสิ่งที่มีชีวิตด้วยโดยรวมไปถึง สวนสัตว์ สวนพฤกษชาติ วนอุทยาน สถานที่สงวนสัตว์น้ำ และสถานที่อันจัดเป็นเขตสงวนอื่นๆ รวมทั้งโบราณสถานและแหล่งอนุสรณ์สถาน ศูนย์วิทยาศาสตร์และท้องฟ้าจำลอง "
จะเห็นได้ว่า คำจำกัดความของพิพิธภัณฑ์นั้นกว้างมาก ครอบคลุมทั้งด้านวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และธรรมชาติ พิพิธภัณฑ์นั้นแบ่งได้หลายแบบและบางแห่งก็จัดได้หลายประเภท เช่น ๑) แบ่งตามการสะสมรวบรวมวัตถุ ( Collection) ๒) แบ่งตามต้นสังกัดหรือการบริหาร เช่น พิพิธภัณฑ์ของรัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย ๓) แบ่งตามลักษณะของผู้เข้าชมหรือกลุ่มเป้าหมาย เช่น นักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไป หรือ ๔) แบ่งตามการจัดแสดง เช่น พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง พิพิธภัณฑ์แหล่งโบราณคดี ประวัติศาสตร์ ฯลฯ


แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะประเภทของพิพิธภัณฑ์ที่แบ่งตามการจัดแสดง และวัตถุประสงค์ที่ใช้ในการจัดแสดง ซึ่งเป็นที่นิยมกันทั่วไปในปัจจุบัน คือ
๑. พิพิธภัณฑสถานประเภททั่วไป จะรวบรวมวัตถุทุกประเภท และทุกเรื่องเอาไว้ ถือเป็นพิพิธภัณฑ์แบบแรกก่อนที่จะมีการพัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะเรื่องในสมัยต่อมา
๒. พิพิธภัณฑสถานศิลปะ จัดแสดงเกี่ยวกับศิลปวัตถุทุกประเภท โดยจะแยกย่อยออกเป็น พิพิธภัณฑสถานศิลปประยุกต์ แสดงวัตถุที่เป็นงานฝีมือ เครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ หอศิลป์ แสดงงานศิลปะประเภทจิตรกรรม ประติมากรรม, พิพิธภัณฑสถานศิลปะสมัยใหม่จะคล้ายกับหอศิลป์ แต่จะเป็นศิลปะสมัยใหม่ของศิลปินร่วมสมัยในยุคหลัง, พิพิธภัณฑสถานศิลปะประเภทการแสดง และพิพิธภัณฑสถานศิลปะแรกเริ่ม แสดงงานศิลปะดั้งเดิมของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์
๓. พิพิธภัณฑสถานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เนื้อหาหลักคือแสดงวิวัฒนาการความก้าวหน้าของวัตถุที่มนุษย์คิดค้นประดิษฐ์ขึ้น
๔. พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา จัดแสดงเรื่องราวของธรรมชาติเกี่ยวกับเรื่องของโลก ทรัพยากรทางธรรมชาติต่างๆ และยังรวมไปถึง สวนสัตว์ สวนพฤกษชาติ วนอุทยาน พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ-สัตว์บกด้วย
๕. พิพิธภัณฑสถานประวัติศาสตร์ แสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แยกย่อยได้เป็นพิพิธภัณฑสถานประวัติศาสตร์ แสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเมือง ทหาร สังคม และเศรษฐกิจ, บ้านประวัติศาสตร์ คือการนำเสนอสถานที่ซึ่งเคยเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ที่มีชื่อเสียงในอดีต, โบราณสถาน, อนุสาวรีย์ และสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมต่างๆ รวมถึงเมืองประวัติศาสตร์ และพิพิธภัณฑสถานประวัติศาสตร์โบราณคดี
๖. พิพิธภัณฑสถานชาติพันธุ์วิทยาและประเพณีพื้นเมือง แสดงชีวิตความเป็นอยู่ในทางวัฒนธรรมและสังคมของมนุษย์และชาติพันธุ์ต่างๆ แบ่งออกเป็น พิพิธภัณฑสถานพื้นบ้าน (พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น) โดยจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้าน และพิพิธภัณฑสถานกลางแจ้ง เป็นการจำลองภาพในอดีตด้วยการนำอาคารเก่า หรือจำลองสิ่งปลูกสร้างต่างๆ มาไว้ในบริเวณเดียวกัน โดยพยายามสร้างสภาพแวดล้อมรวมถึงบรรยากาศให้เหมือนเช่นในอดีต

ปัญหาของพิพิธภัณฑ์

เนื่องจากพิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งสะสมความรู้ และมีบทบาทหน้าที่ ที่ต้องเชื่อมโยงกับหน่วยงาน องค์กรและสถาบันมากมาย อีกทั้งตัวของพิพิธภัณฑ์เองยังมีหน้าที่สะสมศิลปวัตถุและจัดแสดงเผยแพร่แก่ประชาชนได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ ต้องจัดทำโครงการเพื่อการศึกษาต่างๆ พร้อมทั้งต้องหาทุนเพื่อมาใช้จ่ายภายในพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์ย่อมมีปัญหาที่เกิดขึ้นภายในหน่วยงานของพิพิธภัณฑ์เอง และจากสภาวะภายนอกที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์ซึ่งพอจะจำแนกปัญหาใหญ่ๆ คือ ปัญหาด้านบทบาทและหน้าที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะ ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันว่าพิพิธภัณฑ์ควรจะให้บริการด้านวิชาการหรือมีบทบาทเพื่อผลประโยชน์ในการสอนให้ผู้ดูเกิดความรู้โดยตรง แต่เป็นที่สร้างเสริมให้บุคคลเกิดความสุนทรียภาพในหัวใจเป็นสำคัญ


ปัจจุบันนี้ส่วนที่ดีก็คือมีประชาชนต้องการการบริการของพิพิธภัณฑ์มากขึ้น ซึ่งต่างคนก็ต่างที่มา มีความต้องการต่างๆ กัน ไม่มีการจัดแบ่งด้านการให้ความรู้ทางพิพิธภัณฑ์อย่างเคร่งครัดตายตัวตามแบบแผนในอดีตอีกต่อไป ไม่เกิดการแบ่งแยกระหว่างความต้องการของนักท่องเที่ยวธรรมดากับผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการ ในปัจจุบัน ผู้คนจึงเข้าชมพิพิธภัณฑ์ด้วยความเพลิดเพลิน เพื่อค้นหา ความรู้ ข้อมูล และเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ พิพิธภัณฑ์ จึงต้องพยายามปรับเปลี่ยนบทบาทของตนในหลักการนิยามใหม่ ส่วนข้อเสียนั้นคือการเปลี่ยนแปลงตัวเองของพิพิธภัณฑ์เพื่อรองรับความต้องการ ของคนในปัจจุบันกลายเป็นเรื่องที่ต้องแข่งขันกันเหมือนอยู่ในสมรภูมิรบ พร้อมกับความพยายามที่จะดำรงไว้ซึ่งการรักษาประวัติศาสตร์และการตัดสินปัญหาของวัฒนธรรมประชาธิปไตยอันเป็นหน้าที่สำคัญ ของพิพิธภัณฑ์ โดยแทบไม่ทันสังเกตุ


ปัญหาด้านการสนับสนุนจากสังคม สำหรับพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย สุจิตต์ วงษ์เทศ (25247 : 52-61 ) กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์ที่กรมศิลปากร จัดทำอยู่ในประเทศไทยทุกวันนี้เป็นเพียงรูปแบบหนึ่ง ในจำนวนมากมายหลายรูปแบบจุดด้อยมีเพียงกรมศิลปากรได้ จัดพิพิธภัณฑ์ได้เพียงรูปแบบเดียวทำให้คนส่วนใหญ่เบื่อพิพิธภัณฑ์ ทำให้คำว่า พิพิธภัณฑ์ กลายเป็นเรื่องล้าสมัย ประชาชนและรัฐบาลจึงไม่ได้ให้ความสำคัญต่อพิพิธภัณฑ์เท่าที่ควร
ในปัจจุบันประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์อยู่เพียง 200 แห่ง เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ 39 แห่ง ซึ่งนับว่าต่ำมากหากเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว (สานปฏิรูป 2541 : 10) ประชาชน มีความเห็นว่าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติมีปัญหาในการด้านการ บริหารจัดการ ลักษณะการจัดแสดงที่ไม่น่าสนใจ ซ้ำซากจำเจ การจัดกิจกรรม, นิทรรศการ หมุนเวียน มีน้อย, เวลาเปิดและปิดในการเข้าชมไม่สะดวกต่อผู้ชม, การให้ข้อมูลความรู้ชนิดที่ศึกษาได้ด้วยตัวเอง มีน้อย ไม่เป็นอิสระพอ (สานปฏิรูป 2541 : 10)

ปัญหาของพิพิธภัณฑ์ทางด้านเศรษฐกิจ พิพิธภัณฑ์ ในต่างประเทศหลายแห่งที่ต้องปิดตัวเองลง บางแห่งปิดการ บริการเป็นบางส่วน พิพิธภัณฑ์ที่สร้างขึ้นในยุค 60 ที่เป็นช่วงเศรษฐกิจเพื่องฟู ต้องลดพนักงานลง บางแห่งมีค่าใช้จ่ายสูง จนไม่อาจซื้องานศิลปะใหม่ ๆ ได้อีกรวมทั้งไม่อาจจัดรายการต่าง ๆ ในพิพิธภัณฑ์ได้ด้วย ทั้ง ๆ ที่พิพิธภัณฑ์กำลังเป็นที่สนใจของประชาชนในด้านศิลปะมากขึ้น และกำลังสื่อสารให้สังคมเห็นประโยชน์ของพิพิธภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ภาวะปัญหาทางด้านการเงินทำให้พิพิธภัณฑ์ไปได้ไม่ไกล(Newsom, 1975:50-51) ซึ่งปัญหาด้านนี้ก็เกิดขึ้นกับประเทศเราเช่นกัน

========================================================================

ประมวลภาพการศึกษาแหล่งเรียนรู้
บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสงขลา













ขอบคุณข้อมูลจาก

http://th.wikipedia.org/wiki/
www.hamanan.com/tour/songkhla/pipittaphunsongkhla.html
www.nsm.or.th/
และหนังสือแนะนำพิพิธภัณฑ์ จังหวัดสงขลา

วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ความหมายของวิธีการทางประวัติศาสตร์

ความหมายของวิธีการทางประวัติศาสตร์

ในการสืบค้น ค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีอยู่หลายวิธี เช่น จากหลักฐานทางวัตถุที่ขุดค้นพบ หลักฐานที่เป็นการบันทึกลายลักษณ์อักษร หลักฐานจากคำบอกเล่า ซึ่งการรวบรวมเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์


ความสำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์

สำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์นั้น มีปัญหาที่สำคัญอยู่ประการหนึ่ง คือ อดีตที่มีการฟื้นหรือจำลองขึ้นมาใหม่นั้น มีความถูกต้องสมบูรณ์และเชื่อถือได้เพียงใดรวมทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่นำมาใช้เป็นข้อมูลนั้น มีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เพราะเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มีอยู่มากมายเกินกว่าที่จะศึกษาหรือจดจำได้หมด แต่หลักฐานที่ใช้เป็นข้อมูลอาจมีเพียงบางส่วน
ดังนั้น วิธีการทางประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ หรือผู้ฝึกฝนทางประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ

ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์ ::
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร


ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล

ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ)
การรวบรวมข้อมูลนั้น หลักฐานชั้นต้นมีความสำคัญ และความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานชั้นรอง แต่หลักฐานชั้นรองอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายกว่าหลักฐานชั้นรอง
ในการรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆดังกล่าวข้างต้น ควรเริ่มต้นจากหลักฐานชั้นรองแล้วจึงศึกษาหลักฐานชั้นต้น ถ้าเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ควรเริ่มต้นจากผลการศึกษาของนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ก่อนไปศึกษาจากของจริงหรือสถานที่จริง
การศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีควรใช้ข้อมูลหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าผู้ศึกษาต้องการศึกษาเรื่องอะไร ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลที่ดีจะต้องจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ ทั้งข้อมูลและแหล่งข้อมูลให้สมบูรณ์และถูกต้อง เพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ


ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก
การวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) คือ การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด แต่เป็นเพียงการประเมินตัวหลักฐาน มิได้มุ่งที่ข้อมูลในหลักฐาน ดังนั้นขั้นตอนนี้เป็นการสกัดหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือออกไปการวิพากษ์ข้อมูลหรือวิพากษ์ภายใน
การวิพากษ์ข้อมูล (internal criticism) คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมายที่แสดงออกในหลักฐาน เพื่อประเมินว่าน่าเชื่อถือเพียงใด โดยเน้นถึงความถูกต้อง คุณค่า ตลอดจนความหมายที่แท้จริง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการประเมินหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะข้อมูลในเอกสารมีทั้งที่คลาดเคลื่อน และมีอคติของผู้บันทึกแฝงอยู่ หากนักประวัติศาสตร์ละเลยการวิพากษ์ข้อมูลผลที่ออกมาอาจจะผิดพลาดจากความเป็นจริง


ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน

ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน
การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐกรรมต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่ง
อาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม
ในการตีความหลักฐาน นักประวัติศาสตร์จึงต้องพยายามจับความหมายจากสำนวนโวหาร ทัศนคติ ความเชื่อ ฯลฯ ของผู้เขียนและสังคมในยุคสมัยนั้นประกอบด้วย เพื่อทีจะได้ทราบว่าถ้อยความนั้นนอกจากจะหมายความตามตัวอักษรแล้ว ยังมีความหมายที่แท้จริงอะไรแฝงอยู่


ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล

ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้น
ในขั้นตอนนี้ ผู้ศึกษาจะต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตีความมาวิเคราะห์ หรือแยกแยะเพื่อจัดแยกประเภทของเรื่อง โดยเรื่องเดียวกันควรจัดไว้ด้วยกัน รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน เรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงนำเรื่องทั้งหมดมาสังเคราะห์หรือรวมเข้าด้วยกัน คือ เป็นการจำลองภาพบุคคลหรือเหตุการณ์ในอดีตขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง โดยอธิบายถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผล ทั้งนี้ผู้ศึกษาอาจนำเสนอเป็นเหตุการณ์พื้นฐาน หรือเป็นเหตุการณ์เชิงวิเคราะห์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เรื่องดีๆที่ควรส่งต่อ ในหลวงของปวงเรา

เรื่องดีๆที่ควรส่งต่อ
ในหลวงของปวงเรา

** ฉันอายตัวเองว่า ในขณะที่ท่านให้ชีวิตใหม่กับเรา แต่เราช่วยอะไรท่านไม่ได้เลย***


ยายซุบ สามร้อยยอด เป็นหญิงชาวบ้านวัย 70 แห่งบ้านคุ้งโตนด อำเภอกุยบุรี จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ยากจนมาตังแต่ยังสาวจวบจนวันนี้ หากแต่เธอกลับยืนยันว่า เธอมีอดีตที่มีความหมายต่อชีวิตของแก อดีตที่หมายถึงชีวิตใหม่ ไม่ว่าแกจะยังจนต้องขอเงินลูก ๆ 9 คนใช้ดังเช่นทุกวันนี้หรือจะมั่งมีศรีสุข ถูกหวยรวยเบอร์อย่างไรก็ตาม แกไม่เคยลืมเหตุการณ์ครั้งนั้น เหตุการณ์ที่ล่วงเลยมานานกว่า 40 ปี การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฏรบ้านคุ้งโตนด อำเภอกุยบุรี ไม่เพียงทำให้หมู่บ้านที่ยากจน ล้าหลัง ไม่มีแม้ถนนที่จะติดต่อกับโลกภายนอก ได้มีชีวิตที่ดีขึ้น หากแต่การเสด็จพระราชดำเนินในครานั้นได้ทำให้หญิงคนหนึ่งมีชีวิตยืนยาวต่อมาจนถึงวันนี้

สมัยยังสาวยายเคยไปรับเสด็จในหลวงใช่ไหม ?

ยาย-ใช่ ตอนนั้นไปรับเสด็จที่ตีนถ้ำไทรในหมู่บ้านเรานี่แหละ ท่านเสด็จฯ มาทางเหนือ ไอ้เราป่วยเป็นไส้ติ่ง ปวดท้องมาครึ่งเดือนแล้ว แต่ไม่รู้หรอกนะตอนนั้นว่าเป็นไส้ติ่ง ปวดท้องนอนซม คนในบ้านบอกในหลวงจะมา เราก็อยากเห็น อยากไปรับเสด็จ แต่ปวดท้องจนเดินไม่ไหว

เดินไม่ไหว แล้วไปยังไง ?

ยาย-ก็ให้คนหามไป ใส่เกวียนไปเลย

ทำไมถึงเลือกไปเฝ้าในหลวง ไม่ไปหาหมอ ?

ยาย-ไม่รู้สิ คืออยากเห็นตัวจริง ๆ ใกล้ ๆ นะ คิดในใจว่ายอมตายได้ แต่ขอไปรับเสด็จก่อน แลกตัวแลกชีวิตกันเลย พูดง่าย ๆ ว่าวัดดวงเอาเลย อีกอย่างตอนนั้นถ้าเราไปหาหมอก็ลำบาก เพราะน้ำแห้ง เรือเครื่องก็ไม่มี ถ้าไปก็คงไปไม่ถึง มันคงจะตายก่อน

แล้วตอนนั้นได้ถวายอะไรท่านบ้างไหม ?
ยาย-ยกมือพนมยังจะไม่ไหวเลย จะให้ถวายอะไรอีก (หัวเราะเสียงดัง)

แล้วได้เห็นท่านไหม ?

ยาย-ก็ได้เห็นท่านอยู่ แต่ก็เห็นห่าง ๆ แล้วก็เห็นไม่นานเพราะว่าพระองค์ท่านต้องเสด็จฯ ไปที่ตีนเขาอีกลูกคนละฟาก ทรงไปดูเรื่องที่จะระเบิดเขาทำทางเข้าออกหมู่บ้าน

ไส้ติ่งเรากำลังจะแตก แล้วรอดมาได้อย่างไร เกิดอะไรขึ้น ?

ยาย-ตอนนั้นไส้ติ่งกำลังจะแตก เงินสักบาทก็ไม่มีติดตัว พอดีว่าพระราชินีท่านทรงเยี่ยมเยียนราษฏร แล้วทอดพระเนตรเห็นเรานั่งหน้าซีด พิงเพื่อน คือได้ตอนนั้นมันไม่ไหวจริง ๆ ท่านทอดพระเนตรเห็นก็คงสังเกตได้ว่าอาการเราไม่ดี พระองค์ก็ถามว่า เป็นอะไร ? ท่านบอกให้พูดธรรมดาก็ได้ เราบอกว่าเจ็บท้อง พระองค์ท่านตรัสถามต่อว่า เจ็บมากี่วันแล้ว ? เราก็บอกว่า เจ็บมาครึ่งเดือนเห็นจะได้ ท่านก็เลยบอกให้หมอที่มาด้วยตรวจดู

แล้วหมอว่ายังไง ?

ยาย-หมอบอกว่าไส้ติ่งกำลังจะแตก พอหมอบอกอยางนั้น พระองค์ท่านก็ทรงติดต่อไปที่ในหลวงซึ่ง ทรงอยู่ที่ตีนเขาอีกลูก

รู้ได้ยังไงว่าสมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงติดต่อไปที่ในหลวง ?

ยาย-รู้สิ เพราะเห็นในหลวง พระองค์ท่านทรงวิ่งจากตีนเขาลูกโน้นมาเลย ห่างกันถึง 1 กิโล ( แค่นี้ก็ตื้นตันแทนคุณยายแล้ว)

รู้สึกอย่างไรบ้างในตอนนั้น ?

ยาย-ดีใจแล้วก็ปลื้มใจแบบมาก ๆ ไอ้ตอนแรกคิดว่ากำลังจะตายนี่ คิดว่าตัวเองรอดแน่ มันมีกำลังใจ คิดว่าขนาดพระเจ้าแผ่นดินยังเอาใจใส่เราขนาดนี้ เราจะตายไม่ได้

พอในหลวงเสด็จมาถึง ทรงตรัสว่าอย่างไรหรือไม่ ?

ยาย-ท่านให้เอา ฮ. มารับ ท่านตรัสว่า เดี๋ยวเราจะกลับทางเรือเอง ให้เอาคนไข้ไปส่งก่อน พอพระองค์ท่านตรัส หมอสองคนก็หิ้วปีกเราไป ในหลวงท่านทรงเมตตาเราไปจนถึงเครื่อง พอเราขึ้นไป ก่อนที่ประตู ฮ. จะปิด เราก็มองลงมาเห็นในหลวง ท่านทรงโบกพระหัตถ์ เราซาบซึ้งมาก ยิ่งบอกตัวของเราเลยว่าเราจะตายไม่ได้

ถ้าไม่มีในหลวงในวันนั้น ก็ต้องตายแน่ ?

ยาย-แน่นอน ไม่ต้องอะไรหรอก หมอบอกว่า มาช้ากว่านี้แค่ 2-3 นาที ก็ไม่รอดแล้ว แล้ววันนั้นอย่างที่บอกว่าเรือเครื่องก็ไม่มี น้ำก็แห้ง ไม่รู้ใช้เวลาครึ่งวันจะเดินทางไปถึงโรงพยาบาลหรือเปล่า ถ้าในหลวงไม่เสด็จมาที่นี่ วันนั้นก็ตายแน่ ตายทั้ง ๆ ที่ยังไม่รู้เลยว่าตัวเองเป็นอะไรตาย

เหมือนกับได้ชีวิตใหม่ ?

ยาย-ใช่ ชีวิตทุกวันนี้ถึงฉันแก่แล้ว แต่เมื่อนึกถึงวันนั้นทีไรรู้สึกเหมือนได้เกิดใหม่ทุกที ตอนนั่งดูโทรทัศน์ เวลาเห็นท่าน เราก็จะพนมมือไหว้ตลอด รู้สึกว่าท่านได้มอบชีวิตใหม่ให้กับเรา

ตอนนั้นอยู่บน ฮ. เป็นอย่างไรบ้าง ?

ยาย-จำไม่ค่อยได้ รู้แต่ว่าพอบินขึ้นไปพักใหญ่หมอก็ถามว่าเป็นยังไงบ้าง เราพูดไม่ค่อยไหว แต่ก็บอกไปว่าปวดท้อง บน ฮ. นอกจากเรา ก็มีหมออีก 2 คน แ้วก็คนขับอีก 2 คน จำได้แค่นี้ล่ะ

ฮ. พาไปที่โรงพยาบาลไหน ?

ยาย-โรงพยาบาลพระมงกุฏฯ เพชรบุรี

แล้วพักอยู่กี่วัน ?

ยาย-ปกติคนเป็นไส้ติ่งทั่วไปเขาพักกัน 3-4 วันก็ออกได้แล้ว แต่เราเป็นหนักต้องพักถึง 24 วัน ถ้าในหลวงไม่ช่วยก็ตายแน่ แล้วถ้าเราตาย ลูกเต้าก็ไม่รู้จะอยู่ยังไง ในหลวงท่านทรงเมตตา ทรงดูแลเราอย่างดี ห้องที่เราพักอยู่นี่ดีมาก เป็นห้องพิเศษเลย พูดตรง ๆ ว่า ดีกว่าบ้านที่ฉันอยู่อีก หมอก็นิสัยดี พูดจากับเราเพราะแล้วก็ใจดี

** ในหลวงท่านทรงห่วงใยเรามากมีคนมาเยี่ยม ถามอาการ ถามสารทุกข์สุขดิบทุกวัน คนใกล้ชิดพระองค์ท่านก็ถามเรานะว่า จะฝากอะไรถึงท่านไหม เราบอกให้ พระองค์ทรงพระเจริญ ทรงพระเจริญ พูดได้แค่นั้น มันตื้นตันจนนึกไม่ออก**

หลังจากวันนั้นแล้วเป็นอย่างไร ?

ยาย-ไม่มีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ พระองค์ท่านอีกเลย ถ้าเรามีโอกาส จะขอเข้าไปกราบแทบพระบาทเลย สิ่งที่พระองค์ท่านทรงช่วยเหลือเราไว้ เป็นความซาบซึ้งที่สุดในชีวิตแล้ว

** คิดูสิโลกนี้จะหากษัตริย์อย่างท่านได้ที่ไหน เราเป็นแค่ชาวบ้านจน ๆ แต่ท่านห่วงเราเหมือนเราเป็นลูกพระองค์ท่าน ทรงห่วงเราเหมือนที่เราห่วงลูก ท่านทรงเสียสละแม้กระทั่งของส่วนพระองค์ ทรงยอมลำบากกลับทางเรือเพื่อคนอย่างเรา พูดตรง ๆ ว่าสิ่งที่พระองค์ทรงทำให้ฉันตายแล้วเกิดใหม่อีกสิบชาติก็ทดแทนไม่หมด**

กลับมาบ้านแล้ว เป็นอย่างไร ?

ยาย-ตอนที่ออกจากโรงพยาบาลใหม่ ๆ พระองค์ท่านก็ส่งเงินมาให้อยู่ถึง 1 ปี ครั้งละ 3-5 พันบาท ส่งมาหลายครั้งอยู่ เรารู้เพระว่าใส่ซองสีขาวประทับตราสำนักพระราชวัง จากเหตุการณ์นั้นทำให้เรารักในหลวงของเรามาก

แล้วทุกวันนี้ก็ยังน้อยใจตัวเองอยู่ว่า เวลาที่ท่านป่วย เราก็ไม่มีเงินไปเฝ้า ไปแสดงความจงรักภักดีกับท่าน ได้แต่ร้องไห้อยู่กับบ้าน นั่งร้องไห้ทุกวัน ดูข่าวทุก??ันไม่เคยเว้นเลย ** ฉันอายตัวเองว่า ในขณะที่ท่านให้ชีวิตใหม่กับเรา แต่เราช่วยอะไรท่านไม่ได้เลย**

การเสียสละของในหลวงคราวนั้น ได้เอามาปฏิบัติตามหรือไม่ ?

ยาย-มีส่วนมากเลย เวลาคนในหมู่บ้านเขาป่วยเป็นอะไร ฉันก็ไปเยี่ยมเขาทั่ว ไปไหนไปกัน มีใครเจ็บในหมู่บ้านนี่ฉันจะไปเยี่ยมหมด บางทีถึงไม่ใช่หมอ ไม่ใช่ญาติเขา แต่เราก็ไป ไปนั่งพูดคุยให้กำลังใจ บางทีก็ไปบีบให้นวดให้ นี่คือสิ่งที่ในหลวงให้เรา และเราให้คนอื่นต่อ

** เมืองไทยเราโชคดีที่มีในหลวง โชคดีมาก ๆ ไม่มีกษัตริย์ที่ไหนในโลกอีกแล้วที่จะเป็นห่วงชาวบ้านอยางฉันเท่ากับท่าน คนอยางเราเปรียบไปก็เหมือนมดปลวก แต่ท่านก็ยังใส่ใจ ท่านใส่ใจจริง ๆ เหมือนกับว่าคนไทย คือ ลูกของท่านทั้งแผ่นดิน**

เนื้อความจาก http://board.bodinzone.com/view.php?id=20000

วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475


ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 กลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งที่ต่อมาเรียกตนเองว่า "คณะราษฎร" ได้ยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย
คณะราษฎรเกิดจากการรวมกลุ่มของข้าราชการและนักเรียนไทย 7 คนในฝรั่งเศสและยุโรปที่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศสยาม ภายใต้การนำของนายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) เมื่อนักเรียนเหล่านี้กลับมาเมืองไทยก็ได้ขยายกลุ่มสมาชิกภายในประเทศและขอให้พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าผู้ก่อการ โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็นแกนนำฝ่ายพลเรือน หลวงพิบูลสงครามเป็นแกนนำฝ่ายทหารบก

1. สาเหตุของการปฏิวัติ เกิดจากปัจจัยทางการเมืองและปัจจัยทางเศรษฐกิจ ในด้านปัจจัยทางการเมือง การปฏิรูปบ้านเมืองและปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้เกิดชนชั้นกลางที่เรียนรู้รูปแบบการเมืองการปกครองของชาติตะวันตก ทำให้เห็นว่าการปกครองโดยคน ๆ เดียวหรือสถาบันเดียวไม่อาจแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ทั้งหมด นอกจากนี้ชนชั้นกลางจำนวนมากไม่พอใจที่บรรดาเชื้อพระวงศ์ผูกขาดอำนาจการปกครองและการบริหารราชการ กลุ่มคนรุ่นใหม่ต้องการให้มีการปกครองระบอบรัฐสภาและมีรัฐธรรมนูญ บางกลุ่มต้องการให้มีการปกครองระบอบสาธารณรัฐ
ในด้านปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและการดุลข้าราชการออกจำนวนมากเพื่อตัดลดงบประมาณ ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการและประชาชนที่เดือดร้อนจากปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้เป็นสาเหตุหนึ่งที่คณะราษฎรใช้โจมตีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

2. เหตุการณ์วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ในวันที่ 24 มิถุนายน คณะผู้ก่อการเข้ายึดอำนาจการปกครองที่กรุงเทพมหานคร และจับกุมพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้า ฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพอภิรัฐมนตรี เป็นตัวประกัน
ส่วนบริเวณลานหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคุณะผู้ก่อการได้อ่านประกาศยึดอำนาจการปกครอง ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีพระบรมราชินี ประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยอมารับการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฏร เพราะทรงเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของราษฎรและไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ รวมทั้งพระองค์ก็ทรงมีพระราชดำริที่เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตยอยู่แล้ว
ในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้เข้าเฝ้า ฯ และนำร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช 2475 ขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย เพื่อให้ลงพระปรมาภิไธย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเติมคำว่า "ชั่วคราว" ต่อท้ายรัฐธรรมนูญ นับเป็นการเริ่มต้นระบอบรัฐธรรมนูญของไทย ต่อมาในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ได้มีพระราชพิธีพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต

พัฒนาการชาติไทยสมัยรัชกาลที่ 4-5-6-7 ด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

เศรษฐกิจสมัยธนบุรี-สัญญาเบาริ่ง (ร.4 2398)




- การเกษตรกรรม : ผลิตเพื่อยังชีพเหมือนเดิม
- การค้า
1. ตลาดต่างประเทศ : ค้าขายกับจีนมากที่สุด (50-85%) รองลงมาคือ ปีนังและ
สิงคโปร์
2. ระบบการค้ากับจีน : รัฐใช้ระบบการค้าผสมการฑูต (tributary trade) = ส่งเรือ
สินค้าไปกับเรือฑูต
3. ผู้ประกอบการค้า
1) นายทุนไทย : มี King เป็นนายทุนใหญ่ที่สุด เจ้าขุนนางรองลงมา คน
ไทยที่เป็นไพร่ค้าขายน้อยมากเพราะพันธนาการของระบบไพร่
2) นายทุนต่างชาติ : คนจีนเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดค้ากับไทย/ในไทยมาตั้งแต่
สมัยสุโขทัย และยังได้สิทธิเหนือคนชาติอื่นและเหนือไพร่ด้วย

ระบบเจ้าภาษีนายอากร

ซึ่งเป็นเอกชนเข้ามาช่วยเก็บภาษีส่งให้รัฐบาล ใคร
ประมูลให้ราคาสูงสุด(Tax)แก่รัฐ รัฐก็จะให้เป็นเจ้าภาษีซึ่งมีอยู่ถึง 42 ชนิดสมัย ร.3 อากรมี17 ชนิด
ส่วนใหญ่เอกชน(นายอากร)เป็นผู้เก็บแทนรัฐบาล
- เหตุที่ใช้ระบบเจ้าภาษีนายอากร
1. ประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีดีกว่าให้เจ้าหน้าที่เก็บ
2. รัฐไม่ต้องสิ้นเปลือง งบประมาณในการจัดเก็บ
3. คนจีนคิดภาษีใหม่เสนอรัฐบาล

ระบบเศรษฐกิจไทยสมัย ร.6-7 (2453-75)



- เกิดความล้มเหลวในการสร้างพลังการผลิต
1.1 ความล้มเหลวที่จะสร้างผลผลิตให้สูงขึ้นทางการเกษตร สาเหตุ
1) รัฐบาลขาดความเอาใจใส่ด้านชลประทาน การทำนาส่วนใหญ่จึงอาศัยน้ำฝนซึ่งไม่
ค่อยแน่นอน
2) ชาวนาภาคกลาง 36% ไม่มีที่นาเป็นองตนเอง จึงขาดกำลังที่จะปรับปรุงการผลิตให้
ดีขึ้น
3) ค่าเช่านาแพงมาก ราว 1/2 1/3 ของผลผลิต
4) ขาดการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น การใส่ปุ๋ย ข้าวพันธุ์ดี เครื่องสูบน้ำ
1.2 การขาดการพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรม(ของญี่ปุ่น) เขาเริ่มพัฒนาประเทศเสมัยเมจิ
2411-2455 ตรงกับสมัย ร.5 เพียง 40 ปี ญี่ปุ่นก็ทิ้งไทยไม่เห็นฝุ่น กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรม
เป็นมหาอำนาจ รบชนะจีนในปี 2437-8 รบชนะรัสเซียในปี 2447-8




พัฒนาการชาติไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

มูลเหตุการปรับปรุงการปกครอง
นายวรเดช จันทรศร ได้สรุปถึงปัญหาที่สยามประเทศเผชิญอยู่ในขณะนั้นที่เป็นเงื่อนไขความจำเป็นที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปอย่างขนานใหญ่รวม 7 ประการ ได้แก่
1. ปัญหาความล้าหลังของระบบการบริหารราชการแผ่นดินที่มีรูปแบบของการจัดที่ทำให้เอกภาพของชาติตั้งอยู่บนรากฐานที่ไม่มั่นคงระบบบริหารล้าสมัยขาดประสิทธิภาพมีการทำงานที่ซ้ำซ้อนและสับสนการควบคุมและการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางไม่สามารถทำได้ทำให้ความมั่นคงของประเทศอยู่ในอันตรายและยังเปิดโอกาสให้ค่านิยมของตะวันตกสามารถเข้าแทรกแซงได้โดยง่าย
2. ระบบบริหารการจัดเก็บภาษีอากรและการคลังของสยามประเทศ มิได้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาปรับปรุงบ้านเมืองและเสริมสร้างพระราชอำนาจให้แก่สถาบันพระมหากษัตริย์เนื่องจากขาดหน่วยงานกลางที่จะควบคุมดูแลการจัดเก็บรักษาและใช้เงินรายได้แผ่นดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ พระมหากษัตริย์ ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของเจ้าพนักงานขุนนางผู้ดูแลการจัดเก็บภาษีรัฐ และเจ้าภาษีนายอากร ให้อยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์ได้
3. การควบคุมกำลังคนในระบบไพร่ก่อให้เกิดปัญหาการใช้ไพร่เป็นฐานอำนาจทางการเมือง เพื่อล้มล้างพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เกิดความไม่มั่นคงต่อพระราชบัลลังก์ เกิดการขาดเอกภาพในชาติทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเกิดความล้าหลังไพร่ไม่สามารถสะสมทางเศรษฐกิจทั้งนี้ เพราะผลเนื่องมาจากการเกณฑ์แรงงาน นอกจากนี้การฉ้อราษฎร์บังหลวงของมูลนาย ยังเป็นการทำลายผลประโยชน์ของพระมหากษัตริย์ และเกิดความเสียหายต่อสยามโดยรวม
4. ปัญหาการมีทาสก่อให้เกิดการกดขี่และความไม่เป็นธรรมในสังคมเป็นเครื่องชี้ความป่าเถื่อนล้าหลังของบ้านเมืองที่มีอยู่ซึ่งเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของประเทศต่างชาติอาจใช้เป็นข้ออ้างในการเข้ามาแทรกแซงของลัทธิล่าอาณานิคมที่จะสร้างความศิวิไลซ์และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในชาติด้อยพัฒนาในแง่เศรษฐกิจระบบทาสของสยามเป็นระบบใช้แรงงานที่เป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเป็นอุปสรรคต่อการเป็นการพัฒนาคุณภาพกำลังคนในชาติ
5. ระบบทหารของสยามประเทศเป็นระบบที่ไม่สามารถป้องกันผลประโยชน์ และเกียรติของชาติไว้ได้เป็นระบบที่ยึดถือแรงงานของไพร่เป็นหลักในการป้องกันพระราชอาณาจักรทำให้การควบคุมประชาชนในประเทศถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ ทำให้สถานภาพของพระมหากษัตริย์และเอกภาพของชาติตั้งอยู่บนฐานที่ไม่มั่นคง ทำให้กองทัพขาดเอกภาพขาดระเบียบวินัยอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมรบไม่อำนวยให้เกิดการฝึกหัดที่ดีและการเรียกระดมเข้าประจำกองทัพล่าช้าทำให้ไม่ทราบจำนวนไพร่พลที่แน่นอน
6. ปัญหาข้อบกพร่องของระบบกฎหมาย และการศาลที่ล้าสมัยแตกต่างจากอารยะประเทศไม่เป็นหลักประกันความยุติธรรมให้กับคนในชาติ และชาวต่างชาติบทลงโทษรุนแรงทารุณการพิจารณา ล่าช้าคดีคั่งค้างไม่สามารถรองรับความเจริญทางการค้าพาณิชย์และสภาพสังคม ได้มีหน่วยงานในการพิจารณาคดีมากเกินไป เกิดความล่าช้าสังกัดของศาลแยกไปอยู่หลายกรมเกิดความล่าช้าและไม่ยุติธรรมระบบการรับสินบนฝังรากลึกมาแต่ในอดีตปัญหาข้อบกพร่องต่างๆ ทั้งหมดนี้เป็นเหตุให้สยามถูกกดดันทำให้เกิดความยากลำบากในการปกครองและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ
7. ปัญหาด้านการศึกษาสยามประเทศก่อนปฏิรูปยังไม่มีระบบการศึกษาสมัยใหม่ไม่มีหน่วยงานที่จะรับผิดชอบในการจัดการศึกษาโดยตรงการศึกษาจำกัดอยู่เฉพาะราชวงศ์ขุนนางชั้นสูงเกิดความไม่ยุติธรรม ทำให้โอกาสการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ลางเลือน ประเทศขาดคนที่มีคุณภาพเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศขาดพลังที่จะช่วยรักษาบ้านเมืองให้อยู่รอดปลอดภัยอีกทั้งยังทำให้ต่างชาติดูถูกสยามประเทศว่ามีความป่าเถื่อน ล้าหลัง

การปรับปรุงการบริหารราชการส่วนกลาง
การปรับปรุงการบริหารราชการในส่วนกลางได้จัดแบ่งหน่วยงานออกเป็นกระทรวงต่าง ๆ ตามลักษณะเฉพาะ เพื่อให้การบริหารงานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยปรับปรุงการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางซึ่งมีมาแต่เดิมนับตั้งแต่การปฏิรูปการปกครองในสมัยกรุงศรีอยุธยา คือ มหาดไทย กลาโหม เมือง วัง คลัง นาอันได้ใช้เป็นระเบียบปกครองประเทศไทยตลอดมาจนถึงรัชกาลที่ 5 เหตุแห่งการปฏิรูปการปกครอง และระเบียบราชการส่วนกลางในรัชการนี้ ก็เนื่องจากองค์การแห่งการบริการส่วนกลาง ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ส่วน ไม่เพียงพอที่จะปฏิบัติราชการให้ได้ผลดีและความเจริญของประเทศและจำนวนพลเมืองเพิ่มขึ้นข้าราชการเพิ่มขึ้น แต่องค์การแห่งราชการบริหารส่วนกลางยังคงมีอยู่เช่นเดิมไม่เพียงพอต่อความต้องการด้วยเหตุดังกล่าว จึงได้ทรงตั้งกระทรวงเพิ่มขึ้นโดยได้ทรงมีพระบรมราชโองการประกาศตั้งกระทรวงแบบใหม่ และผู้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงต่าง ๆ ขึ้นโดยได้จัดสรรให้อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละกระทรวงให้เป็นสัดส่วน ดังนี้ คือ

1. กระทรวงมหาดไทย บังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาวประเทศราช (ในช่วงแรก) แต่ต่อมาได้มีการโอนการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งหมดที่มีให้อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย

2. กระทรวงกลาโหม บังคับบัญชาหัวเมืองปักษ์ใต้ ฝ่ายตะวันตกตะวันออก และเมืองมลายูประเทศราช เมื่อมีการโอนการบังคับบัญชาหัวเมืองไปให้กระทรวงมหาดไทยแล้วกระทรวงกลาโหมจึงบังคับบัญชาฝ่ายทหารเพียงอย่างเดียวทั่วพระราชอาณาเขต

3. กระทรวงการต่างประเทศ (กรมท่า) มีหน้าที่ด้านการต่างประเทศ

4. กระทรวงวัง ว่าการในพระราชวัง

5. กระทรวงเมือง (นครบาล) การโปลิศและการบัญชีคน คือ กรมพระสุรัสวดีและรักษาคนโทษ

6. กระทรวงเกษตราธิการ ว่าการเพาะปลูกและการค้า ป่าไม้ เหมืองแร่

7. กระทรวงพระคลัง ดูแลเรื่องเงิน รายได้ รายจ่ายของแผ่นดิน

8. กระทรวงยุติธรรม จัดการเรื่องศาลซึ่งเคยกระจายอยู่ตามกรมต่าง ๆ นำมาไว้ที่แห่งเดียวกันทั้งแพ่ง อาญา นครบาล อุทธรณ์ทั้งแผ่นดิน

9. กระทรวงยุทธนาธิการ ตรวจตราจัดการในกรมทหารบก ทหารเรือ

10. กระทรวงธรรมการ จัดการเกี่ยวกับการศึกษา การรักษาพยาบาล และอุปถัมภ์คณะสงฆ์

11. กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่ก่อสร้างทำถนน ขุดคลอง การช่าง การไปรษณีย์โทรเลขการรถไฟ

12. กระทรวงมุรธาธิการ มีหน้าที่รักษาพระราชลัญจกร รักษาพระราชกำหนดกฎหมายและหนังสือราชการทั้งปวง

เมื่อได้ประกาศปรับปรุงกระทรวงใหม่เสร็จเรียบร้อยจึงได้ประกาศตั้งเสนาบดีและให้เลิกอัครเสนาบดีทั้ง 2 ตำแหน่ง คือ สมุหนายกและสมุหกลาโหม กับตำแหน่งจตุสดมภ์ให้เสนาบดีทุกตำแหน่งเสมอกันและรวมกันเป็นที่ประชุมเสนาบดีสภา หรือเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลา ต่อจากนั้นได้ยุบรวมกระทรวง และปรับปรุงใหม่เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวงต่างๆ ยังคงมีเหลืออยู่ 10 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงนครบาล กระทรวงการ-ต่างประเทศ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงวัง กระทรวงเกษตราธิการ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงโยธาธิการ และกระทรวงธรรมการ

การปรับปรุงการบริหารราชการส่วนภูมิภาค
ด้วยเหตุที่มีการรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองซึ่งเคยแยกกันอยู่ใน 3 กรม คือ มหาดไทยกลาโหมและกรมท่า ให้มารวมกันอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียว การปฏิรูปหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาคจึงมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทน (field) หรือหน่วยงานประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทย หรือรัฐบาลกลางโดยส่วนรวมทั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการปกครองแบบเมืองหลวง เมืองชั้นใน เมืองชั้นนอก เมืองพระยามหานคร และเมืองประเทศราชเดิม เพื่อให้ลักษณะการปกครองเปลี่ยนแปลงแบบราชอาณาจักรโดยการจัดระเบียบการปกครองให้มีลักษณะลดหลั่นตามระดับสายการบังคับบัญชาหน่วยเหนือลงไปจนถึงหน่วยงานชั้นรอง ตามลำดับดังนี้

1.การจัดรูปการปกครองมณฑลเทศาภิบาล โดยการรวมหัวเมืองต่าง ๆ เป็นมณฑลตามสภาพภูมิประเทศและความสะดวกแก่การปกครอง มีสมุหเทศาภิบาลซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเลือกสรรจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความสามรถสูงและเป็นที่วางพระราชหฤทัยแต่งตั้งให้ไปบริหารราชการต่างพระเนตรพระกรรณ

2.การจัดรูปการปกครองเมือง มีการปกครองใช้ข้อบังคับลักษณะการปกครองท้องที่ซึ่งมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดหน่วยบริหารที่ชื่อว่า "เมือง" ใหม่โดยให้รวมท้องที่หลายอำเภอเป็นหัวเมืองหนึ่งและกำหนดให้มีพนักงานปกครองเมืองแต่ละเมือง ประกอบด้วยผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาเมือง และมีคณะกรรมการเมือง 2 คณะ คือ กรมการในทำเนียบและกรมการนอกทำเนียบเป็นผู้ช่วยเหลือและให้คำแนะนำพระมหากษัตริย์ทรงเลือกสรร และโยกย้ายผู้ว่าราชการเมือง

3. การจัดการปกครองอำเภอ อำเภอเป็นหน่วยบริหารราชการระดับถัดจากเมืองเป็นหน่วยปฏิบัติราชการหน่วยสุดท้ายของรัฐที่จะเป็นผู้บริการราชการในท้องที่ และให้บริการแก่ประชาชนตามนโยบายของรัฐบาลกลาง เป็นหน่วยการปกครองที่จัดตั้งขึ้นโดยการรวมท้องที่หลายตำบลเข้าด้วยกัน มีกรมการอำเภอซึ่งประกอบด้วยนายอำเภอปลัดอำเภอ และสมุห์บัญชีอำเภอร่วมกันรับผิดชอบในราชการของอำเภอ โดยนายอำเภอเป็นหัวหน้า ทั้งนี้ การแต่งตั้งโยกย้ายนายอำเภอ เป็นอำนาจของข้าหลวงเทศาภิบาลสำหรับตำแหน่งลำดับรองๆ ลงไปซึ่งได้แก่ ปลัดอำเภอ สมุห์บัญชีอำเภอ และเสมียน พนักงาน ผู้ว่าราชการเมืองมีอำนาจแต่งตั้งโยกย้ายหากท้องที่อำเภอใดกว้างขวางยากแก่การที่กรมการอำเภอจะไปตรวจตราให้ทั่วถึงได้และท้องที่นั้นยังมีผู้คนไม่มากพอที่จะยกฐานะเป็นอำเภอหรือกรณีที่ท้องที่ของอำเภอมีชุมชนที่อยู่ห่างไกลที่ว่าการอำเภอก็ให้แบ่งท้องที่ออกเป็น กิ่งอำเภอเพื่อให้มีพนักงานปกครองดูแลได้แต่กิ่งอำเภอยังคงเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอและอยู่ในกำกับดูแลของกรรมการอำเภอ

4. การจัดรูปการปกครองตำบลหมู่บ้าน อำเภอแต่ละอำเภอมีการแบ่งซอยพื้นที่ออกเป็นหลายตำบลและตำบลก็ยังซอยพื้นที่ออกเป็นหมู่บ้าน ซึ่งเป็นหน่วยการปกครองสุดท้ายที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุดการปกครองระดับนี้มุ่งหมายที่จะให้ราษฎรในพื้นที่ เลือกสรรบุคคลขึ้นทำหน้าที่เป็นธุระในการรักษาความสงบเรียบร้อยโดยเป็นทั้งตัวแทนประชาชนในพื้นที่ปฏิบัติงาน เป็นสื่อเชื่อมโยงระหว่างรัฐบาลกับประชาชน คือเป็นผู้ประสานงานช่วยเหลืออำเภอ และเป็นตัวแทนของรัฐสอดส่องดูแลทุกข์สุขของราษฎร์ ตลอดจนช่วยเก็บภาษีอากรบางอย่างให้รัฐ

การปรับปรุงการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงริเริ่มแนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองของประชาชนในท้องถิ่นจากต่างประเทศมา
ดำเนินการโดยริเริ่มทดลองให้มีการจัดการสุขาภิบาลกรุงเทพฯและการสุขาภิบาลหัวเมือง รายละเอียดดังนี้

1. การจัดการสุขาภิบาลกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเริ่มให้จัดการบำรุงท้องถิ่นแบบสุขาภิบาล ขึ้นในกรุงเทพ อันเป็นอิทธิพลสืบเนื่องมาจากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีโอกาสไปดู กิจการต่าง ๆในยุโรป และเนื่องจากเจ้าพระยาอภัยราชา(โรลังยัคมินส์) ติเตียนว่ากรุงเทพฯสกปรกที่รักษาราชการทั่วไปของประเทศในขณะนั้นได้กราบทูลกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าชาวต่างประเทศ มักติเตียนว่ากรุงเทพฯ สกปรกไม่มีถนนหนทางสมควรแก่ฐานะเป็นเมืองหลวงพระองค์ จึงโปรดเกล้าให้จัดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ขึ้นโดยมีพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116 ออกใช้บังคับการจัดการดำเนินงานเป็นหน้าที่ของกรมสุขาภิบาล การบริหารกิจการในท้องที่ของสุขาภิบาลพระราชกำหนดได้กำหนดให้มีการประชุมปรึกษากันเป็นคราว ๆ ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้รับหน้าที่ในด้านการอนามัยและการศึกษาขั้นต้นของราษฎร ได้ แบ่งสุขาภิบาลออกเป็น 2 ชนิด คือ สุขาภิบาลเมือง และสุขาภิบาลตำบล โดยสุขาภิบาลแต่ละชนิดมีหน้าที่
1.รักษาความสะอาดในท้องที่
2.การป้องกันและรักษาความเจ็บไข้ในท้องที่
3. การบำรุงและรักษาทางไปมาในท้องที่
4. การศึกษาขึ้นต้นของราษฎร
พระราชบัญญัติทั้งสองฉบับได้ใช้อยู่จนกระทั่งหมดสมัยที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงดำรงตำแหน่งของเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ไม่มีนโยบายส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองของประเทศและสุขาภิบาลเริ่มประสบปัญหาต่างๆ จึงทำให้การทำงานของสุขาภิบาลหยุดชะงักและเฉื่อยลงตามลำดับ จวบจนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพ.ศ.2475 คณะราษฎรมุ่งหวังที่จะสถาปนาระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นในประเทศไทย จึงตราพระราชบัญญัติการจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 เพื่อส่งเสริมให้มีการปกครองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลอย่างกว้างขวาง

วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553


ความหมายของวิธีการทางประวัติศาสตร์




ในการสืบค้น ค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีอยู่หลายวิธี เช่น จากหลักฐานทางวัตถุที่ขุดค้นพบ หลักฐานที่เป็นการบันทึกลายลักษณ์อักษร หลักฐานจากคำบอกเล่า ซึ่งการรวบรวมเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์


ความสำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์




สำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์นั้น มีปัญหาที่สำคัญอยู่ประการหนึ่ง คือ อดีตที่มีการฟื้นหรือจำลองขึ้นมาใหม่นั้น มีความถูกต้องสมบูรณ์และเชื่อถือได้เพียงใดรวมทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่นำมาใช้เป็นข้อมูลนั้น มีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เพราะเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มีอยู่มากมายเกินกว่าที่จะศึกษาหรือจดจำได้หมด แต่หลักฐานที่ใช้เป็นข้อมูลอาจมีเพียงบางส่วน
ดังนั้น วิธีการทางประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ หรือผู้ฝึกฝนทางประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ

ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์ ::


ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย

เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร


ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ)
การรวบรวมข้อมูลนั้น หลักฐานชั้นต้นมีความสำคัญ และความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานชั้นรอง แต่หลักฐานชั้นรองอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายกว่าหลักฐานชั้นรอง
ในการรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆดังกล่าวข้างต้น ควรเริ่มต้นจากหลักฐานชั้นรองแล้วจึงศึกษาหลักฐานชั้นต้น ถ้าเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ควรเริ่มต้นจากผลการศึกษาของนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ก่อนไปศึกษาจากของจริงหรือสถานที่จริง
การศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีควรใช้ข้อมูลหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าผู้ศึกษาต้องการศึกษาเรื่องอะไร ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลที่ดีจะต้องจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ ทั้งข้อมูลและแหล่งข้อมูลให้สมบูรณ์และถูกต้อง เพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ


ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก
การวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) คือ การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด แต่เป็นเพียงการประเมินตัวหลักฐาน มิได้มุ่งที่ข้อมูลในหลักฐาน ดังนั้นขั้นตอนนี้เป็นการสกัดหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือออกไปการวิพากษ์ข้อมูลหรือวิพากษ์ภายใน
การวิพากษ์ข้อมูล (internal criticism) คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมายที่แสดงออกในหลักฐาน เพื่อประเมินว่าน่าเชื่อถือเพียงใด โดยเน้นถึงความถูกต้อง คุณค่า ตลอดจนความหมายที่แท้จริง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการประเมินหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะข้อมูลในเอกสารมีทั้งที่คลาดเคลื่อน และมีอคติของผู้บันทึกแฝงอยู่ หากนักประวัติศาสตร์ละเลยการวิพากษ์ข้อมูลผลที่ออกมาอาจจะผิดพลาดจากความเป็นจริง


ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน


การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐกรรมต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่ง
อาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม
ในการตีความหลักฐาน นักประวัติศาสตร์จึงต้องพยายามจับความหมายจากสำนวนโวหาร ทัศนคติ ความเชื่อ ฯลฯ ของผู้เขียนและสังคมในยุคสมัยนั้นประกอบด้วย เพื่อทีจะได้ทราบว่าถ้อยความนั้นนอกจากจะหมายความตามตัวอักษรแล้ว ยังมีความหมายที่แท้จริงอะไรแฝงอยู่


ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล

จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้น
ในขั้นตอนนี้ ผู้ศึกษาจะต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตีความมาวิเคราะห์ หรือแยกแยะเพื่อจัดแยกประเภทของเรื่อง โดยเรื่องเดียวกันควรจัดไว้ด้วยกัน รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน เรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงนำเรื่องทั้งหมดมาสังเคราะห์หรือรวมเข้าด้วยกัน คือ เป็นการจำลองภาพบุคคลหรือเหตุการณ์ในอดีตขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง โดยอธิบายถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผล ทั้งนี้ผู้ศึกษาอาจนำเสนอเป็นเหตุการณ์พื้นฐาน หรือเป็นเหตุการณ์เชิงวิเคราะห์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา